>พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ

>สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

วัดพระธาตุลำปางหลวง  เกาะคา  ลำปาง

การปฏิบัติวิปัสสนากรรม (สติปัฏฐาน ๔) The Four Basic Foundations of Mindfulness

ข้อปฏิบัติ ข้อที่ ๕ ของจำนวน ๙ ข้อ

๕.  การปฏิบัติธรรม

        การปฏิบัติธรรม  คือ  การทำให้เกิดบุญและกุศลแก่ตนเอง
        การทำบุญ  คือ  การชำระล้างจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลศ อันได้แก่  โลภะ  โทสะ  โมหะ
        กุศล  หมายถึง  เจตนาที่จะตัดบาปกรรม  คือ  กิเลสความชั่วร้ายทั้งปวง

        บุญ และกุศล จึงมีความหมายไม่ต่างกัน  ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำให้เกิดบุญกุศลได้ ๓ ทางด้วยกัน  คือ .–
        ๑.  การให้ทาน    ๒.  การถือศีล  ๓.  ภาวนา  คือ  การอบรมความเจริญให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง
ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการภาวนา

การภาวนา  แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง  คือ.–

สมถกรรมฐาน    คือการทำสมาธิ ( หมายถึงสัมมาสมาธิอย่างเดียว ) พระพุทธองค์ได้จำแนกการทำสมาธิออกเป็น  ๔๐ วิธี  เพื่อให้เหมาะสมแก่จริตของแต่ละบุคคล  ได้แก่

                อสุกรรมฐาน  ๑๐    อนุสสติกรรมฐาน  ๑๐    กสิณ  ๑๐    อาหารเรปฏิกูลสัญญา ๑
                จตุธาตุวัฏฐาน ๑     พรหมวิหาร ๔              อรูป  ๔ (รวม ๔๐ วิธี)
         การทำสมาธิคือ  การทำให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง  เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วก็ทำให้เกิดความสงบ  เกิดปิติ  จึงสามารถขจัดความฟุ้งซ่านได้  จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตลอดเวลา  จิตว่างไม่มีในโลก  การทำให้จิตตั้งมั่น จึงเท่ากับทำให้จิตได้พักผ่อนบ้าง  เช่น อาจกำหนดคำภาวนาต่างๆ เป็นอารมณ์  เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิได้ง่ายขึ้น

ผลจากการทำสมาธิ คือ  การทำให้เกิดฌานในระดับต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงปัญจมฌาน (ฌานที่๕) ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมดา คือได้อิทธิปาฏิหารย์ต่าง ๆ ได้อภิญญาจิตก่อให้เกิดความสามารถพิเศษที่คนธรรมดาทำไม่ได้ เช่น ระลึกชาติได้ รู้ใจคนอื่น เป็นต้น  แต่อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ก็ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

        ฌาน    แปลว่า  ติดในอารมณ์  การเพ่งจนติดในอารมณ์นั้น  อ่จเป็นบุญหรือบาปก็ได้  คือ  อาจเป็นได้ทั้ง มิจฉาสมาธิ  หรือสัมมาสมาธิก็ได้  และแม้เป็นสัมมาสมาธิที่แนบแน่นก็ไม่อาจทำลายกิเลสให้ออกไปจากจิตในได้  เป็นเพียงการข่มกิเลสไว้มิให้โผล่ขึ้นมาเท่านั้น

        ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้  พวกโยคีก็ทำสมาธิ จนถึงขั้นฌานขั้นสูงสุดเช่นกัน  สามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ แต่สมาธิที่ได้ขั้นสูงสุด (อรูปฌานที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน)
ก็ไม่อาจช่วยให้ชีวิตพ้นทุกข์ได้เลย  การเวียนว่ายตายเกิดยังดำเนินอยู่ต่อไป  เพราะว่ากิเลสที่แฝงอยู่ในจิตใจนั้น  ไม่ได้ถูกขจัดไปให้เด็ดขาด  เพียงถูกข่มไว้ด้วยอำนาจสมาธิเท่านั้น

ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ได้ลาจากพระอาจารย์โยคีทั้งสอง  เพื่อค้นหาสัจธรรมด้วยพระองค์เอง  ทางสายเดียวและทางสายเอกอันเป็นทางสู่ความพ้นทุกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบ  คือ  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน


จบข้อที่ ๕ พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ / 
การปฏิบัติวิปปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔) The Four Basic Foundations of Mindfulness 


คัดลอกจาก หนังสือ พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ โดย..


@NuttanunWung

http://twitter.com/NuttanunWung
http://tinyurl.com/nuttanunpages
http://nuttanunwung.com