* หายใจ * ไล่ความดัน

พระพุทธรูป

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

* หายใจ * ไล่ความดัน

ความวุ่นวายในชีวิตที่เกิดขึ้นทำให้เราๆ ท่าน ๆ หลงลืมอะไรไปบางอย่าง หลงลืมแม้กระทั่งวิธีที่เรา

*หายใจ*

สังเกตุได้เลยว่า ทุกวันนี้คนเราหายใจ เข้า-ออก สั้นและตื้น มากขึ้นทุกที ยิ่งหายใจสั้นเท่าไร
อากาศก็จะลงไปในปอดและออกมาทางจมูกสั้นเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย เพราะพลัง
จากลมหายใจ จากออกซิเจน ที่เราปั้มเข้าไปจะไม่สามารถขับพิษ ขับคาร์บอนมอนอกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์ หรือปลุกเซลล์ต่าง ๆ ให้ฟื้นขึ้นมาได้ ผลก็คือง่วงเหงาหาวนอน ไม่มีกำลัง
อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ นี่แหละเป็นผลจากการหายใจที่ไม่ถูกต้อง

โดยปกติคนเราจะหายใจโดยเฉลี่ย ๑๓.๘-๑๙.๔ ครั้ง/นาที แต่มีการพบว่า การหายใจที่ดีมี
ประสิทธิภาพนั้นจะต้องหายใจให้ได้ต่ำกว่า ๑๐ ครั้ง/นาที นั่นคือ คนเราต้องหายใจให้ยาวและลึก
มากขึ้น

ผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงฝึกการหายใจช้าและลึกวันละประมาณ
๑๕ นาที ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๒ เดือน ค่าความดันโลหิตจะลดมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกการหายใจ

ใช่แล้ว….อ่านไม่ผิด หายใจช้าๆ ลึกและยาว ทำให้ความดันลดลงได้

เพราะการหายใจยาวและลึก จะส่งเข้าไปกระตุ้นปลายประสาทที่เกี่ยวกับระบบความดัน การเค้น
หัวใจ และการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจ มีผลทำให้ความดันเลือดลง
แต่ปัญหาก็คือ พบว่าการหายใจที่ถูกต้องเป็นเรื่องยาก เพราะจากภาวะของร่างกายที่ไม่พร้อม จิต
ใจที่ไม่ผ่อนคลาย ฟุ้งซ่าน โมโห กังวล รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมไม่อำนวย

ปัจจุบัน มีเครื่องที่ช่วยฝึกหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่อง Device-Guided Breathing ทำงาน
โดยระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์รูปแบบการหายใจ และออกแบบการหายใจใหม่ให้เหมาะสม ช้า
และลึก ต้องปฏิบัตินานเท่าไร เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้
กล้ามเนื้อรอบหลอดเลือดขยายตัวขึ้น เป็นผลทำให้ความดันโลหิตลดลง

เพียงการฝึกด้วยเครื่อง ๑๕ นาที/วัน หรือ ๔๕ นาที/สัปดาห์ จะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้
ถึง ๑๔/๙ มิลลิเมตรปรอทภายใน ๑-๒ เดือน

การหายใจที่ดีมีประสิทธิภาพ ยังสามารถลดความเครียดที่เป็นบ่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้อีกด้วย

รู้อย่างนี้แล้ว มาเริ่มหายใจกันครับ

….หายใจลึก ๆ ยาว ๆ เมื่อนึกขึ้นได้

เอ้า…..เริ่ม !!!

บทความจาก : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ คอลัมภ์ วาไรตี้เฮลท์

หมายเหตุ. บทความอ้างถึง เครื่องช่วยฝึกการหายใจ ถ้าหาไม่ได้..ขอให้ดูบทความที่ลงไว้
เรื่อง *โยคะ ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ * แนะนำเกี่ยวกับการหายใจ โดยไม่ต้องพึ่ง
เครื่องช่วยฝึก ครับ

คัดลอกโดย : ณัฐนันท์ วัง
๑๙/๑๒/๒๕๕๔ ๑๖.๐๐ น.

http://bit.ly/Bkk06-Club
http://bit.ly/BetterLifeBlog
http://bit.ly/NuttanunPage
https://nutw.wordpress.com
http://facebook.com/NuttanunWung
http://twitter.com/NuttanunWung


//

* โยคะ * ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ

* โยคะ * ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ

สวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านบทความที่แบ่งปันให้แก่ทุกท่าน

กระแสการตื่นตัวในเรื่องโยคะที่โหมในห้วงเวลา ๒ – ๓ ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนหันมารักตนเอง ห่วงใยสุขภาพ และสนใจในเรื่องธรรมชาติบำบัดมากขึ้น ซึ่งโยคะก็เป็นศาสตร์ที่ใช้ธรรมชาติบำบัดโดยตรง เพราะโยคะ คือ การมองปัญหาที่เกิดกับสุขภาพของมนุษย์อย่างองค์รวมไม่แยกเป็นส่วน ๆ เหมือนกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โยคะจึงไม่ใช่แค่ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานป้องกันโรคภัยใข้เจ็บ แต่โยคะยังดูแลถึงจิตใจ

ประโยชน์ของโยคะมีมากมายหลายด้าน เช่น

ทางร่างกาย   โดยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและผ่อนคลาย ยึดหยุ่น ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวสง่างาม ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความสมดุล

ทางด้านจิตใจ   เมื่อฝึกโยคะจะทำให้จิตใจเคลื่อนไหวน้อยลง การพัฒนาจิตก็จะดีขึ้น ทำให้รู้จักตัวเอง จิตสงบและเยือกเย็น เกิดความแจ่มใสไม่ฟุ้งฤซ่าน ผ่อนคลายความตึงเครียดอันเกิดจากชีวิตประจำวัน

ทางพลังงาน  ก็มีไม่แพ้กัน เพราะอาสนะยึดหลักการสงวนพลังงาน ไม่ใช่การโหมออกแรงแบบการออกกำลังกาย และไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อแขน ขา มาก จึงไม่เกิดกรดแลคติค ที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยหล้าหลังฝึก และทำให้พลังงานที่หยุดนิ่งในร่างกายของเราได้เคลื่อนไหว ไหลเวียนไปสู่ทุกส่วนของร่างกายได้สดวกยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญโยคะ แนะสำหรับมือใหม่หัดเล่นโยคะว่า หลักของโยคะข้อหนึ่งก็คือ ปราณายาม ซึ่งหมายถึงการพัฒนาร่างกายเพื่อเอาประโยชน์จากอากาศให้ดีที่สุด แต่ในการฝึกใหม่ ๆ ให้คำนึงถึงท่าที่ถูกต้องเสียก่อน อย่ากังวลกับการหายใจ

เรื่องการหายใจ ให้ฝึกการหายใจโดยใช้หน้าท้องและทรวงอก หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ห้ามกลั้นหายใจระหว่างการฝึก และต้องหายใจทางจมูก ไม่ควรหายใจทางปาก ฝึกหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนให้ได้มากที่สุด

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ และเพื่อเป็นการผ่อนจิตใจและร่างกาย ผู้ฝึกควรเรียนรู้เทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้อง Breath Awarness Technique ง่าย ๆ ดังนี้

โยคะ ดีต่อจิตใจและสุขภาพ

๑. เฝ้าสังเกตุ มีสติกำหนด รู้กับลมหายใจ จากนั้นเพิ่มการมีสติกำหนดรู้กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง สังเกตุลมหายใจของเราที่ผ่อนช้าลง สงบลง ลมหายใจจากหยาบมาเป็นลมหายใจละเอียด

๒. ฝึกการหายใจสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง สูดลมหายใจเข้า ให้หน้าท้องพองขึ้น ผ่อนลมหายใจออก ให้หน้าท้องแฟบลง มีสติกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจ ที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนขึ้นลงของหน้าท้อง พยายามดึงช่วงเวลาของลมหายใจออก ให้นานกว่าช่วงเวลาลมหายใจเข้า

๓. มีสติกำหนดรู้กับความสงบ มีสติกำหนดรู้ขณะที่ผ่อนลมหายใจออกจนสุดเฝ้าสังเกตุห้วงขณะที่เราหยุดหายใจ ซึ่งเป็นช่วงที่เราหายใจออกหมดแล้ว แต่การหายใจเข้ายังไม่เกิดขึ้น โดยไม่ได้ตั้งใจกลั้นลมหายใจ กำหนดรู้อยู่กับห้วงขณะที่ร่างกายไม่หายใจที่ว่านี้ อันเป็นห้วงขณะที่กายนิ่ง ลมหายใจหยุด และจิตสงบ คอยมีสติระลึกถึงห้วงเวลาที่จิตสงบ ตลอดทั้งวัน

คัดลอกจากบทความ นสพ.โพสต์ทูเดย์ ไกด์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔

คัดลอกโดย : ณัฐนันท์ วัง
๑๙/๑๑/๒๕๕๔ ๑๖.๐๐ น.

http://bit.ly/Bkk06-Club
http://bit.ly/BetterLifeBlog
http://bit.ly/NuttanunPage
https://nutw.wordpress.com
http://facebook.com/lagone8888
http://twitter.com/NuttanunWung