* โยคะ * ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ

* โยคะ * ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ

สวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านบทความที่แบ่งปันให้แก่ทุกท่าน

กระแสการตื่นตัวในเรื่องโยคะที่โหมในห้วงเวลา ๒ – ๓ ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนหันมารักตนเอง ห่วงใยสุขภาพ และสนใจในเรื่องธรรมชาติบำบัดมากขึ้น ซึ่งโยคะก็เป็นศาสตร์ที่ใช้ธรรมชาติบำบัดโดยตรง เพราะโยคะ คือ การมองปัญหาที่เกิดกับสุขภาพของมนุษย์อย่างองค์รวมไม่แยกเป็นส่วน ๆ เหมือนกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โยคะจึงไม่ใช่แค่ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานป้องกันโรคภัยใข้เจ็บ แต่โยคะยังดูแลถึงจิตใจ

ประโยชน์ของโยคะมีมากมายหลายด้าน เช่น

ทางร่างกาย   โดยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและผ่อนคลาย ยึดหยุ่น ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวสง่างาม ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความสมดุล

ทางด้านจิตใจ   เมื่อฝึกโยคะจะทำให้จิตใจเคลื่อนไหวน้อยลง การพัฒนาจิตก็จะดีขึ้น ทำให้รู้จักตัวเอง จิตสงบและเยือกเย็น เกิดความแจ่มใสไม่ฟุ้งฤซ่าน ผ่อนคลายความตึงเครียดอันเกิดจากชีวิตประจำวัน

ทางพลังงาน  ก็มีไม่แพ้กัน เพราะอาสนะยึดหลักการสงวนพลังงาน ไม่ใช่การโหมออกแรงแบบการออกกำลังกาย และไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อแขน ขา มาก จึงไม่เกิดกรดแลคติค ที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยหล้าหลังฝึก และทำให้พลังงานที่หยุดนิ่งในร่างกายของเราได้เคลื่อนไหว ไหลเวียนไปสู่ทุกส่วนของร่างกายได้สดวกยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญโยคะ แนะสำหรับมือใหม่หัดเล่นโยคะว่า หลักของโยคะข้อหนึ่งก็คือ ปราณายาม ซึ่งหมายถึงการพัฒนาร่างกายเพื่อเอาประโยชน์จากอากาศให้ดีที่สุด แต่ในการฝึกใหม่ ๆ ให้คำนึงถึงท่าที่ถูกต้องเสียก่อน อย่ากังวลกับการหายใจ

เรื่องการหายใจ ให้ฝึกการหายใจโดยใช้หน้าท้องและทรวงอก หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ห้ามกลั้นหายใจระหว่างการฝึก และต้องหายใจทางจมูก ไม่ควรหายใจทางปาก ฝึกหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนให้ได้มากที่สุด

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ และเพื่อเป็นการผ่อนจิตใจและร่างกาย ผู้ฝึกควรเรียนรู้เทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้อง Breath Awarness Technique ง่าย ๆ ดังนี้

โยคะ ดีต่อจิตใจและสุขภาพ

๑. เฝ้าสังเกตุ มีสติกำหนด รู้กับลมหายใจ จากนั้นเพิ่มการมีสติกำหนดรู้กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง สังเกตุลมหายใจของเราที่ผ่อนช้าลง สงบลง ลมหายใจจากหยาบมาเป็นลมหายใจละเอียด

๒. ฝึกการหายใจสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง สูดลมหายใจเข้า ให้หน้าท้องพองขึ้น ผ่อนลมหายใจออก ให้หน้าท้องแฟบลง มีสติกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจ ที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนขึ้นลงของหน้าท้อง พยายามดึงช่วงเวลาของลมหายใจออก ให้นานกว่าช่วงเวลาลมหายใจเข้า

๓. มีสติกำหนดรู้กับความสงบ มีสติกำหนดรู้ขณะที่ผ่อนลมหายใจออกจนสุดเฝ้าสังเกตุห้วงขณะที่เราหยุดหายใจ ซึ่งเป็นช่วงที่เราหายใจออกหมดแล้ว แต่การหายใจเข้ายังไม่เกิดขึ้น โดยไม่ได้ตั้งใจกลั้นลมหายใจ กำหนดรู้อยู่กับห้วงขณะที่ร่างกายไม่หายใจที่ว่านี้ อันเป็นห้วงขณะที่กายนิ่ง ลมหายใจหยุด และจิตสงบ คอยมีสติระลึกถึงห้วงเวลาที่จิตสงบ ตลอดทั้งวัน

คัดลอกจากบทความ นสพ.โพสต์ทูเดย์ ไกด์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔

คัดลอกโดย : ณัฐนันท์ วัง
๑๙/๑๑/๒๕๕๔ ๑๖.๐๐ น.

http://bit.ly/Bkk06-Club
http://bit.ly/BetterLifeBlog
http://bit.ly/NuttanunPage
https://nutw.wordpress.com
http://facebook.com/lagone8888
http://twitter.com/NuttanunWung

นวดกดจุด คลายเครียด

 

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Nuttanun’s Blog
นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

<นวดกดจุดคลายเครียด>

บรรดาหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ หลาย ๆ คน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความเมื่อยล้า ความเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายได้

*ไลฟ์เซ็นเตอร์* ศูนย์สุขภาพแบบครบวงจร ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพผิว *แอสเทอร์สปริง* มาแนะวิธีการดูแลสุขภาพด้วยการนวดบำบัด กดจุด และคลายเครียด ให้กับผู้สนใจ

ศาสตร์แห่งการนวดบำบัดจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และต่อมน้ำเหลือง เป็นการเพิ่มอัตราการส่งผ่านโลหิต และออกซิเจนเพื่อไปหล่อเลี้ยงผิวได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยกระตุ้นกระบวนการขับของเสีย และกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผิวคืนความมีชีวิตชีวา สดใส แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลาย บรรเทาอาการอ่อนล้าส่วนต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างวันได้อีกด้วย

สำหรับท่านวดกดจุดง่าย ๆ เพื่อการผ่อนคลายในระหว่างวันทำได้ดังนี้.—-


ท่าที่ ๑ นวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่รูสึกอ่อนล้ากับการใช้คอมฯ นาน ๆ เริ่มจากการใช้มือซ้ายนวดกดบริเวณไหล่ขวาส่วนที่รู้สึกตึง ๆ โดยกดน้ำหนักทั้งบริเวณฝ่ามือ และนิ้วมือ นับ ๑ – ๕ ทำ ๓ ครั้ง เปลี่ยนใช้มือขวาจับใหล่ซ้าย ทำอีก ๓ ครั้ง จะสามารถลดความรู้สึกอ่อนล้าบริเวณไหล่และต้นคอได้ดี

 

 

ท่าที่ ๒ นวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ เหมาะสำหรับการคลายเดรียดและลดอาการตึงบริวเณต้นคอ โดยใช้มือวางลงที่ด้านหลังของลำคอ บีบและคลายประมาณ ๕ – ๑๐ ครั้ง โดยลงน้ำหนักที่นิ้วมือ + ฝ่ามือ

 

 

ท่าที่ ๓ นวดใบหู การนวดใบหูนอกจากจะช่วยให้รู้สึกสบาย และผ่อนคลายแล้ว ยังสามารถช่วยบำรุงไตให้แข็งแรงอีกด้วย เริ่มจากการจับใบหูทั้งสองข้าง โดยวางปลายนิ้วโป้งไว้ด้านหลังใบหู และนิ้วที่เหลืออยู่ด้านหน้า นวดคลึงใบหูให้ทั่ว จนรู้สึกอุ่น ก่อนปล่ยมือ ดึงใบหูออก้านข้างเบา ๆ นับ ๑ – ๓ แล้วคอ่ย ๆ ปล่อยมือ

 

 

ท่าที่ ๔ การนวดตา ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสำหรับผู้ที่ใช้สายตาเยอะ ๆ อยู่หน้าจอคอมฯ นาน ๆ ใช้ปลายนิ้วโป้งกดบริเวณหัวตา กดค้างไว้ นับ ๑ – ๖ และค่อย ๆ ผ่อนน้ำหนัก

 

 

ท่าที่ ๕ นวดหนังศีรษะ ท่านวดนี้จะช่วยระบบการไหลเวียนของโลหิต และทำหให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ทำให้มีการตื่นตัวของระบบประสาท และช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมด้วยจ เริ่มจากใช้นิ้วสอดเข้าไปในเส้นผมชิดหนังศีรษะ ค่อย ๆ กำมือค้างไว้ จนรู้สึกตึงที่ศีรษะ นับ ๑ – ๓ แล้วเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนทั่วศีรษะ

 

 

ท่าที่ ๖ นวดบริเวณขมับ ช่วยลดอาการตึงเครียด ลดอาการปวดศีรษะ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลาง กดคลึงบริเวณขมับเป็นวงกลมประมาณ ๖ ครั้ง แล้วกดน้ำหนักค้างไว้นับ ๑ – ๓ แล้วค่อย ๆ ผ่อนน้ำหนักปล่อยมือ

ทั้งหมดนี้ทำได้ง่าย ๆ ที่โต๊ะทำงาน / ที่บ้าน / เมื่อมีเวลาว่าง….เพื่อความผ่อนคลายในระหว่างวัน
จากบทความ วาไรตี้เฮลท์ นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ วันจันทร์ที่ ๓ – วันพุธที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๔

แบ่งปันโดย : ณัฐนันท์ วัง
๒๐/๑๐/๒๕๕๔

http://bit.ly/Bkk06-Club
http://bit.ly/NuttanunPage
http://bit.ly/BetterLifeBlog
https://nutw.wordpress.com